วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ญี่ปุ่นไม่ได้ยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะระเบิดปรมาณูของอเมริกา


ญี่ปุ่นไม่ได้ยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ เพราะระเบิดปรมาณูของอเมริกา...

เมื่อวันอาทิตย์ที่15 สิงหาคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เนาโอโตะ คัง ได้ประกอบพิธีให้แก่ทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่เนื่องในโอกาสที่ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ แก่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1945 หลังจากที่สหรัฐนำระเบิดปรมาณูไปถล่มที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ

ในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนนี้ได้กล่าวขอโทษแก่ประเทศในเขตเอเชียทั้งหลาย ที่ญี่ปุ่นเคยทำสงครามบุกรุกประเทศเหล่านั้นจนเสียหายยับเยิน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเกาหลี จีน หรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


แต่ความจริงที่ญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ นั้นไม่ใช่เพราะระเบิดปรมาณู ลูกที่สหรัฐนำไปถล่มเมืองทั้งสองเมืองนั้นในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1945 แต่เป็นกองทัพแดงของรัสเซีย ล้าน แสนคนที่บุกโจมตีกองทัพญี่ปุ่นซึ่งครอบครองเอเชียตะวันออกอยู่เป็นล้านนายแตกภายในวันเดียวอย่างไม่ทันตั้งเนื้อตั้งตัว

จากประวัติศาสตร์หน้าใหม่ โดยศาสตราจารย์ Santa Barbara แห่ง University of California ซึ่งค้นคว้าหาหลักฐานมายืนยันความเห็นเบื้องบน เห็นแย้งว่า ความกลัวการรุกรบของกองทัพแดงของรัสเซีย ทำให้เป็นแรงจูงใจให้ญี่ปุ่นหันมายอมแพ้ให้กับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจะได้รับการปฎิบัติในฐานะผู้แพ้สงครามที่ดีกว่ายอมแพ้ต่อรัสเซีย

กองทัพญี่ปุ่นทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือรบกับกองทัพรัสเซียในปี 1939 เพื่อครอบครองมองโกเลีย แต่ไปติดหล่มรบแพ้กองทัพรัสเซียในสงครามที่คาร์ลคิน กอล (The battle of Khalkin Gol) จนญี่ปุ่นต้องเซ็นสัญญาสงบศึกกับรัสเซีย ผลักดันให้รัสเซียออกจากสงครามภาคพื้นแปซิฟิก

ญีปุ่นกลับไปเน้นทำสงครามกับสหรัฐ อังกฤษ และ เนเธอร์แลนด์แทน เป็นที่มาของการบุกถล่มเพริล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ ธันวาคม 1941ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นการประกาศสงครามของญี่ปุ่นที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ

แต่หลังจากการพ่ายแพ้สงครามของเยอรมันในวันที่ พฤษภาคม 1945 และญี่ปุ่นพ่ายแพ้การรบหลายครั้งทั้งที่ฟิลิปปินส์ โอกินาวา และ อิโวจิมา ญี่ปุ่นกลับไปติดต่อรัสเซียเพื่อให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการจบสงครามภาคพื้นแปซิฟิก

อย่างไรก็ดี ผู้นำรัสซียโจเซฟ สตาลินได้ตกลงเป็นความลับกับทางวอชิงตัน และลอนดอนแล้วว่า รัสเซียจะบุกญี่ปุ่นภายใน เดือนหลังจากเยอรมันยอมแพ้ สตาลินไม่สนใจข้ออ้างต่างๆที่ญี่ปุ่นเสนอ และยกทัพเป็นล้านมาประจำตรงเขตแดนแมนจูเรีย

ปฎิบัติการ August Storm เริ่มขึ้นเมื่อระเบิดปรมาณูลูกแรกถูกหย่อนลงที่นางาซากิ ในวันทื่ สิงหาคม 1945 ทำลายชีวิตชาวญี่ปุ่นไปถึง 84,000 คน และทหารรัสเซีย 12,000 คนภายในสองสัปดาห์ของปฎิบัติการ กองทัพรัสเซียรุกเข้าไปใกล้ห่างจากหมู่เกาะฮอกไกโด ของญี่ปุ่น 50 กิโลเมตร

นาย สึโยชิ ฮาเซกาว่า (Tsuyoshi Hasegawa) ผู้แต่งหนังสือ “Racing the Enemy” และตรวจสอบบทสรุปของสงครามภาคพื้นแปซิฟิก และเอกสารหลักฐานของของโซเวียต ญี่ปุ่น และสหรัฐ ให้ความเห็นว่า

“โซเวียตเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสงครามครั้งนี้มากกว่าระเบิดปรมาณูในการชักจูงญี่ปุ่นให้ยอมแพ้ เพราะว่าได้ทำลายความหวังของญี่ปุ่นในการยกเลิกสงครามโดยผ่านทางการไกล่เกลี่ยของรัสเซีย”

จักรพรรดิญี่ปุ่นและคณะสันติภาพซึ่งเป็นคนในรัฐบาลญี่ปุ่นรีบเร่งที่จะจบสงครามโดยหวังว่าทางสหรัฐจะใจกว้างกว่ารัสเซีย

แม้ว่า ความตายจากระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมา 140,000 คน และที่นางาซากิ อีก 84,000 คน กองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นยังเชื่อว่า สามารถรับมือกับกองทัพพันธมิตรได้ ถ้าญี่ปุ่นยังสามารถยึดครองแมนจูเรีย และ เกาหลี ซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนการทำสงคราม จากการกล่าวอ้างของ ฮาเซกาว่า และ นาย Terry Cherman นักประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ประจำที่ London’s Imperial War Museum

นาย Cherman ให้ความเห็นว่า การรุกของกองทัพรัสเซียในเอเชียตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น ผู้นำญี่ปุ่นในโตเกียวตระหนักว่า พวกเขาหมดความหวังแล้ว และปฎิบัติการ August Storm มีอานุภาพในการตัดสินใจยอมแพ้ของญี่ปุ่นมากกว่าระเบิดปรมาณูหรัฐหย่อนในญีปุ่น

ในสหรัฐ การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์เป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่มีเพื่อต่อต้านศัตรูเฉกญี่ปุ่นที่ตัดสินใจสู้จนตัวตาย ประธานาธิบดี Harry S. Truman และแม่ทัพสหรัฐเชื่อว่า การบุกญี่ปุ่นจะเป็นการสูญเสียทหารอเมริกาเป็นแสน

นาย Richard B. Frank นักประวัติศาสตร์อเมริกา เห็นแย้งว่า แม้ระเบิดปรมาณูจะเลวร้ายเพียงใด แต่มันได้ช่วยรักษาชีวิตทหารอเมริกาเป็นแสนและทหารญี่ปุ่นกับพลเรือนเป็นล้านซึ่งอาจจะย่อยยับ ถ้าการสู้รบยังดำเนินต่อไปถึงปี 1946

นาย Frank กล่าวว่า เขายังยืนยันไม่เห็นด้วยกับความเห็นของนาย Hasegawa เกี่ยวกับความสำคัญของการแทรกแซงของกองทัพรัสเซียและระเบิดปรมาณูที่บังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม แต่เขายอมเห็นด้วยกับความรับผิดชอบที่เป็นไปได้ของรัฐบาลจีนและจักรพรรดิฮิโรฮิโตที่ร่างประกาศในเดือนมิถุนายนให้ประชาชนญี่ปุ่นทุกคนไม่ว่าหญิงและชายต่อสู้จนตัวตาย

Frank กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติที่ประการให้ญี่ปุ่นทุกคนเป็นทหารเพื่อสู้รบกับกองทัพพันธมิตรเพื่อแยกฝ่ายสู้รบออกจากฝ่ายไม่สู้รบอย่างเป็นทางการ จึงทำให้ข้อคิดเห็นที่นำเสนอตกไป

ผลกระทบของการรุกแบบสายฟ้าของกองทัพรัสเซียมาจากคำพูดของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม นายคันทาโร่ ซูซุกิ ซึ่งถามกับคณะรัฐมนตรีของเขาให้ยอมแพ้สงคราม ซึ่งแสดงอยู่ในหนังสือของนาย Hasegawa ว่า “ถ้าเราพลาดโอกาสในวันนี้ สหภาพโซเวียดไม่แต่จะครอบครองแมนจูเรีย เกาหลี และซัคคาลิน แต่รวมทั้งฮอกไกโด เราต้องหยุดสงครามในขณะที่เรายังติดต่อกับอเมริกาได้”

นี่เป็นบทหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกที่ต้องหาความจริงกันต่อไป ถ้าใครสนใจต้องลองค้นหามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดูครับ...

คัดลอกมาจากความเห็นของนักข่าว AP จากหนังสือพิมพ์ Shanghai Daily วันที่ 18 สิงหาคม 2010....